THE SUMMER HOUSE

THE GLASS HOUSE

THE EXHIBITION GALLERY

THE LAWN

ONSITE CATERING

OFFSITE CATERING

CAVIAR CAFÉ

LADY L
BISTRO

MA MAISON
THAI HOME COOKING

L’ ARTISAN
CHEF’S TABLE
AT ÉCOLE DUCASSE NAI LERT BANGKOK STUDIO

ÉCOLE DUCASSE BANGKOK CAFÉ

SAMANTAO
HERITAGE COFFEE

ABOUT

PREMIUM BUTLER SERVICE

NAI LERT BUTLER ACADEMY

SERVICE CONSULTANCY

TESTIMONIALS

NEWS AND EVENTS

EN TH

ABOUT

PREMIUM BUTLER SERVICE

NAI LERT BUTLER ACADEMY

SERVICE CONSULTANCY

TESTIMONIALS

NEWS AND EVENTS

THE SUMMER HOUSE

THE GLASS HOUSE

THE EXHIBITION GALLERY

THE LAWN

ONSITE CATERING

OFFSITE CATERING

จากประวัติศาสตร์สู่ตำนาน
ABOUT NAI LERT
พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร)​
22 มิถุนายน 2415 – 15 ธันวาคม 2488
พระยาภักดีนรเศรษฐ
(เลิศ เศรษฐบุตร)​
“นายเลิศ” หรือ พระยาภักดีนรเศรษฐ เกิดในบ้านของครอบครัวใกล้สะพานวัดบพิตรพิมุข เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2415 ท่านมาจากครอบครัวที่มีเกียรติ บิดาคือคุณชื่น เศรษฐบุตร หนึ่งในบุตรชายของหลวงประเสริฐวานิช และหลานชายของพระประเสริฐวานิช ผู้ก่อตั้งตระกูลเศรษฐบุตร หลังจากศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสวนอนันตา (รวมถึงการเรียนภาษาอังกฤษ) นายเลิศเริ่มทำงานและได้กลายเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท สิงคโปร์ สเตรตส์ (ต่อมาเป็น เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ) เมื่ออายุได้ 20 ปี
เมื่ออายุ 22 ปี นายเลิศได้เริ่มประกอบธุรกิจสินค้านำเข้าที่ชื่อว่า นายเลิศ สโตร์ และได้ก่อตั้งโรงงานน้ำแข็งแห่งแรกในประเทศ ตั้งอยู่ในย่านสุขุมวิท ระหว่างซอย 5 ถึง 7 (ต่อมาได้ตั้งชื่อใหม่ว่า ซอยนายเลิศ)
แม้ว่านายเลิศจะตั้งสำนักงานใหญ่ใกล้กับร้านเดิม แต่ท่านได้ขยายไปยังธุรกิจอื่น ๆ อีกมากมาย นายเลิศได้สร้างโรงแรม Hotel De La Paix ซึ่งเป็นธุรกิจโรงแรมแห่งแรกของครอบครัว นอกจากนี้นายเลิศยังขยายธุรกิจไปยังธุรกิจขนส่ง ให้บริการรถโดยสารสายแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2456

และต่อมาได้ขยายธุรกิจไปสู่บริการแท็กซี่เป็นรายแรก โดยใช้รถยนต์นำเข้า รวมถึงบริษัทเรือเมล์ขาวที่ให้บริการบริการขนส่งสาธารณะเลียบคลองแสนแสบจากประตูน้ำ เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทรถเมล์ขาว รถโดยสารประจำทางสายแรก วิ่งระหว่างประตูน้ำและสะพานยศเส รวมถึงสายสีลม และเส้นทางอื่นอีกหลายสาย
นายเลิศเป็นผู้บุกเบิกของการพัฒนาพื้นที่ย่านเพลินจิต ซื้อที่ดินผืนใหญ่ย่านเพลินจิตในปี 2458 และทำการจัดสรรที่ดินบริเวณนั้นเพื่อแบ่งขายเป็นแปลงย่อย​ ซี่งรวมถึงที่ตั้งของสถานฑูตอังกฤษเดิมบนถนนเพลินจิตที่ขายให้กับรัฐบาลอังกฤษในปี 2465